วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ลิงก์10

http://www.oknation.net

ลิงก์9

เก็บตกการแข่งนกกรงหัวจุกที่สงขลา

ลิงก์8

http://www.youtube.com/

ลิงก์7

สงขลา เจ้า“ลูกขาว”นกกรงหัวจุกเผือกค่าตัวราคาสี่แสนบาท

ลิงก์6

นกกรงหัวจุกเจาะสนาม

ลิงก์5

นกรงหัวจุก

ลิงก์4

ครบเครื่องนกกรงหัวจุก

ลิงก์3

ตลาดนกกรงหัวจุก

ลิงก์2

นกกรงหัวจุกไทย ดอท คอม

ลิงก์1

นกกรงหัวจุก นกสยาม

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

นกกรงหัวจุกเผือก



การประสมพันธ์นกกรงหัวจุก



                               การประสมพันธ์นกกรงหัวจุก


นกกรงหัวจุก




อาหารของนกกรงหัวจุก


     


นกกรงหัวจุกชอบกินผลไม้และพืชผักเป็นหลัก นอกจากนี้ยังชอบกินหนอน ตั๊กแตน และแมลงอื่นๆ ซึ่งเป็นอาหารโปรตีน เพื่อทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ถ้าจะให้อาหารเม็ด ต้องเป็นอาหารลูกไก่ก็ยิ่งเจริญเติบโตดี ซึ่งอาหารต่างๆ มีดังนี้
อาหารที่เป็นผลไม้ผลไม้ที่นกกรงหัวจุกกินจะเป็นสมุนไพรไปในตัว สามารถรักษาหรือป้องกันโรคต่างๆ ได้ดี มีดังนี้
"กล้วยน้ำว้าสุก" เป็นยาแก้ท้องผูก ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายดี ข้อควรระวังให้กินนานๆ เสียงนกจะร้องเพี้ยน เพราะเนื้อกล้วยจะเหนียวติดปากนก นกก็จะอ้าปากร้องได้ไม่เต็มที่
"มะละกอสุก" เพราะเป็นยาระบายท้อง แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงสายตาและขับพยาธิเส้นด้าย
"ส้มเขียวหวาน" มีวิตามินซี เป็นยาแก้ไขแก้ปวด แก้เจ็บคอและไอขับเสมหะและแก้อาเจียน
"ฝรั่งสุก" เป็นยาแก้ท้องร่วง เป็นบิด และบำรุงหัวใจ
"มะม่วงสุก" เป็นยาแก้ท้องอืด อาหารไม่ย่อยและบำรุงกระเพาะอาหารให้แข็งแรง
"พุทราสุก" เป็นยาแก้อ่อนเพลีย ผอมแห้งแรงน้อย
นอกจากนี้ ยังมีผลไม้ป่าอีกหลายชนิดที่นกกรงหัวจุกกิน ได้แก่ ลูกหว้า ลูกไทร

อาหารที่เป็นพืชผัก
พืชผักที่นกกรงหัวจุกกิน จะเป็นพืนสมุนไพรไปในตัว สามารถรักษาหรือป้อนกันโรคต่างๆ ได้ดี มีดังนี้
"ลูกตำลึง" เป็นยาแก้ระบายท้อง
"มะเขือเทศ" เป็นยาแก้นกเบื่ออาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงเลือด และกระตุ้นกล้ามเนื้อ
"แตงกวา" เป็นยาแก้ร้อนใน บำรุงปอด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้ความจำดี เมล็ดขับพยาธิ ข้อควรระวัง ก่อนให้นกกิน ต้องนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน เพราะจะมีสารเคมีตกค้างมากับแตงกวา ถ้าให้นกกินเลยโดยไม่ล้างหรือแช่น้ำนกอาจจะตายได้
"พริกขี้หนูแดง" เป็นยาเจริญอาหาร บำรุงกำลัง และเป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ปอดบวม และทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี โดยนำมาล้างน้ำแล้วหั่นเป็นชิ้นๆ นำไปผสมกับน้ำผึ้ง ให้นกกรงหัวจุกกิน จะทำให้นกเสียงดีแบบเดียวกับที่เลี้ยงนกขุนทองแล้วให้กินพริกขี้หนู นกขุนทองเสียงจะดีและพูดเก่ง
"บวบ" เป็นยาระบายท้อง แก้ไขและแก้ร้อนใส

อาหารที่เป็นหนอนและแมลงได้แก่ หนอนนก ไข่มดแดง ปลวก จิ้งหรีด ตั๊กแตน แมลงเม่า อาหารพวกนี้จะเป็นอาหารโปรตีน ทำให้จกเจริญเติบโตได้เร็ว
อาหารเม็ดเป็นอาหารสำหรับให้ลูกไก่กิน ควรเป็นอาหารเสริมให้นกกรงหัวจุกกินเป็นบางครั้งบางคราว นกกรงหัวจุกเป็นนกที่กินอาหารได้ตลอดวัน และอุจจาระไปเรื่อยๆ ดังนั้น การให้อาหารก็ต้องคอยดูว่าอาหารที่ให้หมดหรือยัง ถ้าหมดแล้วก็ให้ใหม่ ผู้เลี้ยงควรเปลี่ยนอาหารสลับกันไป เป็นผลไม้บ้าง พืชผักบ้าง หนอนนกบ้าง และอาหารเม็ดบ้าง
ใบพืชปกติในธรรมชาติ นกกรงหัวจุกก็จะกินใบพืช เมื่อรู้ว่าตัวเองไม่สบาย ผู้เลี้ยงควรหามาให้นกกินบ้าง ได้แก่
1.ใบมะขาม เป็นยาแก้หวัด คัดจมูก
2.ใบผักหวาน เป็นยาแก้ไข
3.ใบตำลึง เป็นยาแก้ร้อนใส

เมล็ดธัญพืชแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เมล็ดจำพวกข้าว พวกนี้จะมีปริมาณของแป้งสูง ซึ่งจะทำให้พลังงานแก่นก อีกกลุ่มหนึ่งได้แก่ เมล็ดที่มีส่วนประกอบของน้ำมันผสมอยู่ เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดเกาลัด และพวกถั่ว เป็นต้น
อาหารพิเศษเป็นอาหารที่ผู้เลี้ยงใช้เสริมเข้าไปในอาหารหลัก เพื่อให้นกมีความแข็งแรงสมบูรณ์ คึกคักตลอดเวลา หรือแม้แต่รักษาอาการป่วยก็ได้ผลดี  ปกติจะให้อาการเสริมแก่นักตัวพิเศษที่เลี้ยงไว้แข่งขัน เช่น
- ข้าวสวยสุกผสมแกงส้มภาคใต้ ผู้เลี้ยงนกในท้องถิ่นภาคใต้นิยมใช้เป็นอาหารเสริมให้นกกิน สรรพคุณนั้นกล่าวกันว่า เพื่อทำให้นกสมบูรณ์แข็งแรง คึกคักเร็วขึ้น ไม่เจ็บป่วย อาจเป็นเพราะเครื่องแกงส้มมีส่วนประกอบของสมุนไพรหลายชนิดนั่นเอง
- พริกสดแช่น้ำผึ้ง หั่นพริกขี้หนูสุกสดๆ ขนาดนกกินได้พอดีแล้วแช่ไว้ในน้ำผึ้ง ถ้าจะให้ดีควรเป็นน้ำผึ้งเดือนห้าที่เตรียมไว้ให้นกกิน ทำให้ลำคอนกโปร่งโล่ง ขับถ่ายสะดวก เป็นการทำให้น้ำเสียงใสกังวานไม่แตกพร่า
- อาหารสูตรที่ผู้เลี้ยงนกส่วนใหญ่ใช้อยู่อีกสูตรหนึ่ง คือเอาเฉพาะไข่แดงของไข่ต้มไปตากแห้ง นำไปผสมากับถั่วลิสงป่น ถั่วเหลือง แคลเซี่ยมสำหรับสัตว์ปีก และนมผงที่ใช้เลี้ยงเด้กคลุกเคล้าให้เข้ากันดี นำไปตากแดดให้แห้งสนิท นำไปให้นกที่เพิ่งได้มาใหม่กิน เพื่อให้นกมีความแข็งแรงสมบูรณ์ คึกคัก ขนสวยเป็นมันวาว
- กระดองปลาหมึก จำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความเจริญเติบโตของกระดูก ขนและจะงอยปาก และใช้ในการสร้างไข่
- ทรายนก ต้องการพวกเม็ดทราย เพื่อช่วยบดและย่อยอาหาร
- แท่งไอโอดีน ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเป็นปกติ
- วิตามิน จะให้โดยผสมในน้ำหรือผสมอาหาร แต่ทางที่ดีควรดูว่าอาหารที่ให้นั้นขาดอะไรแล้วจึงให้จะดีกว่า

อาหารผสมเมล็ดพืชผสมจะมีความหลากหลายของสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ที่จะให้แก่นก ซึ่งจะมีส่วนผสมของถั่ว ผักและผลไม้แห้ง ถ้าเราเลี้ยงด้วยอาหารผสม ควรเสริมด้วยผักและผลไม้ให้นกด้วย
ผักมีสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามิน แคลเซี่ยม และธาตุเหล็ก เช่น ผักกาด ผักขม แครอท ข้าวโพด แขวนผักไว้ในกรงจะช่วยกระตุ้นให้นกกิน ไม่ว่าจะใช้วิธีแขวนหรือวางไว้ ควรเลี่ยงตำแหน่งที่ขี้นกจะตกใส่ ควรเปลี่ยนผักใหม่ทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรีย
ผลไม้แม้ว่าผักจะมีสารอาหารที่สำคัญสำหรับนก แต่การให้ผลไม้ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังมีความหลากหลาย หาได้ง่ายตามฤดูกาล ผลไม้ทั่วไปที่ให้นกได้แก่ กล้วย แอปเปิ้ล องุ่น มะม่วง แตงกวา ฯลฯ ไม่ว่าจะใช้วิธีแขวนหรือวางไว้ในภาชนะก็ควาเลี่ยงตำแหน่งที่ขี้นกจะตกใส่ ทั้งผลไม้และผักควรให้ในปริมาณที่พอดี เพราะถ้าให้มากไปอาจทำให้ท้องร่วงได้ อัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับผักและผลไม้คือ 75% และ 25% ตามลำดับ
วิตามินและแร่ธาตุการเสริมด้วยวิตามินและแร่ธาตุไม่ค่อยจำเป็นเท่าใดนัก ในกรณีที่คุณเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดหรืออาหารผสม ถ้าหากต้องการจะเสริมควรปรึกษาสัตวแพทย์ การเสริมควรเสริมในอาหารชนิดอ่อน ไม่ควรเสริมลงไปในน้ำกิน เพราะว่าเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีในน้ำ อาจเป็นอันตรายต่อตัวนกได้ แต่ถ้าจะใช้วิธีใส่วิตามินลบไปในน้ำ ก็ควรเปลี่ยนน้ำให้นกทุกวัน เพื่อป้อนกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย นกที่ชอบถอนขนตัวเองแสดงว่านกได้รับวิตามินไม่พอเพียง
ลิ้นทะเลและเกลือแร่ควรจัดหาลิ้นทะเลหรือก้อนเกลือแร่ให้แก่นก โดยแขวนหรือวางไว้ในภาชนะก็ได้
น้ำน้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนก นอกจากจะใช้ดื่มแล้วยังใช้อาบด้วย ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนน้ำอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อแบคทีเรีย
Spray Milletเป็นอาหารที่ดีสำหรับนกทุกพันธุ์รวมถึงนกป่าด้วย ในธรรมชาตินกจะเกาะแทะกินสเปรย์มิลเล็ท เมื่อเราใช้เลี้ยงนกจึงควรแขวนสเปรย์มิลเล็ทไว้กับกรง เพื่อกระตุ้นให้นกกิน สเปรย์มิลเล็ท ยังสามารถใช้ฝึกนกให้เชื่องได้อีกด้วย โดยการถือสเปรย์มิลเล็ทไว้ในมือให้นกกินทุกวัน ในตอนแรกเราไม่ควรเข้าไปใกล้มากนัก
การให้อาหารควรให้เป็นเวลา อย่าให้พร่ำเพรื่อหรือหลายอย่างพร้อมกัน เพราะถ้านกกินอิ่มมากเกินไปจะทำให้ท้องเสีย ซึ่งจะเกิดโทษได้ ควรให้นกกินอาหารหลายชนิดจนเกิดความเคยชิน เพราะถ้าไม่มีกล้วย เราจะเอาถั่วลิสงหรือแม้แต่ไข่ต้มคลุกข้าว นกก็จะสามารถกินได้ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวควรให้กินพอประมาณ เพราะถ้าให้กินพร่ำเพรื่อจะทำให้นกท้องเสียได้
การให้น้ำน้ำสำหรับนกกรงหัวจุก ควรเป็นน้ำที่สะอาด เมื่อดูแล้วน้ำในถ้วยที่ให้นกกรงหัวจุกใกล้หมด ก็ต้องเติมน้ำให้ใหม่ เพราะนกกรงหัวจุกชอบร้องทั้งวัน ก็เหมือนคนที่พูดมากๆ ต้องหิวน้ำเป็นธรรมดา อย่าให้นกกรงหัวจุกขาดน้ำ ถ้านกขาดน้ำนกกรงหัวจุกจะมีลักษณะขนตั้งชัน และนกกรงหัวจุกก็จะตายได้ ปกตินกกรงหัวจุกจะขาดน้ำได้ประมาณ 2-3 วัน ดังนั้น ผู้เลี้ยงที่จะไปไหนหลายๆ วัน ต้องฝากให้คนอื่นช่วยดูแลให้


ลักษณะมงคลที่ดีของ นกกรงหัวจุก



ลักษณะมงคลที่ดีของนกกรงหัวจุก (หนังสือนกเขาชวา นกกรงหัวจุก)

          การเล่นนกกรงหัวจุกมีความเชื่อเกี่ยวกับลักษณะคล้ายๆ กับนกเขาชวา แต่ไม่มีตำรับตำราเหมือนนกเขาชวา  มีแต่การพูดต่อๆ กันมา ส่วนใหญ่จะเน้นว่าถ้าลักษณะดีก็จะร้องเสียงดี คือลักษณะที่มีผลต่อเสียงร้องมากกว่า โดยกล่าวว่านกลักษณะดี มงคล 12 ประการ มีดังนี้

           1. ส่วนของใบหน้าใหญ่ รูปโครงสร้างใบหน้าดูเหมือนสิงโต

           2. หงอน จุกบนหัวใหญ่ โคนจุกขนดกหนายาว ตั้งตรงปลายแหลม ขนเรียบลู่ในแนวเดียวกัน ดำสนิท ปลายโน้มเอียงไปข้างหน้าเล็กน้อย (ถ้าเป็นไก่ เรียกว่า หงอน นกเรียกว่าจุก)

           3. นัยน์ตาดุ หรือหวาน คมใส ไวต่อสิ่งสัมผัส ทั้งภายนอก-ใน

           4. สันปากใหญ่หนา คมปากประกบกันสนิทคล้ายสันปากนกเหยี่ยว หรือนกอินทรี (จะงอยปากไม่งุ้มลงมากเหมือนนกเหยี่ยว)

           5. สีแต้มแดงที่หูหรือหูแดงเข้มถึงเข้มมาก

           6. สีแก้มขาวชัด ขนขึ้นดกหนาใหญ่ขาวสะอาด หนวดดำเส้นเล็กตัดหว่างสีแก้มกับเคราใต้คาง

           7. คอใหญ่ ขนเคราขึ้นดกหนาฟูใหญ่ สร้อยคอดำสนิท หรือภาษานกเรียกว่าหมึกดำ หมึกดำสนิท ขนขึ้นดกหนาใหญ่ย้อยลงถึงข้างล่าง ถึงจรดก้น

           9. สีบัวใต้หางชัด สีแดงออกส้มๆ หรือสีแสดบานถึงบานใหญ่

           10. หางพัดยาว ปลายหางไม่แตก หางขาวดำ หรือหางดำป้ายขาว 8 หาง ข้างละ 4 หาง หางดำปรอด 4 หาง รวมเป็น 12 หาง หางยาว หางไม่แตก เวลายืนด้วยอาการปกติปลายหางซ้อนกันในแนวเดียว

           11. ลีลาท่ายืน เดิน สง่า สองขาจับมั่น ดูองอาจ สง่างาม เป็นนกใจเดียว เวลาสู้สู้ไม่ถอย

           12. เสียง นกดำน้ำเสียงดี เสียงดังฟังชัด จะเป็นนกเสียงเล็ก เสียงกลาง เสียงใหญ่ได้ทั้งนั้น (เสียงไม่แหบพร่า) เหมาะเป็นนกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์


 
ภาพกรงสวยๆมาให้ชมกันครับ
วิธีการดูแลลุกนกหัวจุกที่ได้มาใหม่ทำอย่างไรดี




วิธีการดูแลลุกนกหัวจุกที่ได้มาใหม่ทำอย่างไรดี
 ขอเรียนแนะนำดังนี้ครับ
1. ลูกนกที่ได้มาอายุยังน้อยการดูแลตัวเองยังไม่ดีพอครับ โดนฝนโดนลมโกรกเข้า ส่วนใหญ่จะป่วยแล้วตายในที่สุด ควรหาวัสดุกันลมและฝนให้ลูกนกเหล่านี้ด้วย ผมถือว่าเป็นความรับผิดชอบที่ท่านเอาเขามาจากพ่อแม่นกตั้งแต่เล็กๆนะครับ ดูทิศทางลมและฝนมาทางไหนก็กันลมให้เขาบ้าง ถ้าต้องเอาเข้าบ้านก็ต้องเอาเข้าไป จะมาบอกว่ากลัวลูกติดหวัดจากนกไม่ได้ เพราะยามฝนและลมแรง พ่อแม่นกเขาเอาตัวบังลมและฝนให้ลูกนกนะครับ ลูกใครๆก็รัก ใครก็ห่วง ควรดูความพร้อมของตัวท่านเองเป็นหลักก่อนนำลูกนกมาเลี้ยงครับ ทางที่ดีควรให้ลูกนกตัวเป็นลูกใบ้หย่าจากพ่อแม่ก่อน จะดีกว่าไปพรากลูกนกจากพ่อแม่นกในช่วงนี้ครับ


2. ยาไบโอบี 12 ใช้ได้ทั้งป้องกันและรักษาครับ ควรละลายน้ำอย่างเจือจางไว้ให้ลูกนกจิบกินบ้างครับ อย่าปล่อยให้ป่วยแล้วมารักษาเกี่ยงว่าจะไม่ทันครับ เนื่องจากนกตัวเล็กๆความต้านทานต่ำครับ



3. การนำนกมาเลี้ยงรวมกันหลายตัวนั้น ผมอยากจะเรียนว่าไม่ควรทำ เพราะช่วงนี้นกจับคู่แล้วและมีหลายๆตัวเป็นสัดพร้อมกัน การต่อสู้จิกตีกันจะเกิดขึ้นเมื่อมีตัวต้องการเข้าคู่แต่มีนกตัวเมียหรือตัวผู้ไม่พอในกรงรวม หรือว่ามีพอแต่นกไม่ยอมเข้าคู่แบบคลุมถุงชนเหมือนคน ก็จะจิกตีกันจนตายภายในกรงหรือฝ่ายที่สู้ไม่ได้ก็จะถูกไล่จิกตีไปจนบินชนกรงคอหักตาย หรือบาดเจ็บได้นะครับ ต้องแยกเป็นคู่ให้เขาด้วย หรือแยกเป็นกรงแขวนเดี่ยวไว้ก่อนจึงจะปลอดภัยดีครับ



4. อาหารสำหรับลูกนกช่วงแรกๆเน้นที่หนอนนกก่อนครับ มะละกอสุกและตำลึงสุกๆด้วยครับ สำหรับกล้วยนั้นเน้นต้องสุกงอมๆจึงจะดีสำหรับลูกนกครับ






            นกกรงหัวจุก ที่เราๆท่านๆ นำมาแข่งขันประชันเสียงกันนั้น มีตำนานเล่าสืบต่อกันมา และมีหนังสือบางเล่ม ได้เขียนเอาไว้ว่าชนชาติแรกที่นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงคือชาวจีน  เมื่อประมาณ พ.ศ.2410 คนจีนได้นำนกปรอดหัวจุกมาเลี้ยงแทนนกโรบิ้น ที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมนำมาใส่กรงพาเดินไปตามถนนหรือนั่งร้านกาแฟ หรือไปหาเพื่อนๆ ที่รู้ใจและเลี้ยงนกเหมือนกัน และเจ้านกโรบิ้น มักจะเป็นนกที่ตกใจง่ายและตื่นคน บางครั้งตกใจมากจนถึงขั้นช๊อคตายคากรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ชาวจีนกันมาเลี้ยงนกปรอดหัวจุกหรือนกหัวจุกกันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

           นกกรงหัวจุกมีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ในทวีปเอเซีย พบได้ ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว ส่วนใหญ่ เราจะพบนกชนิดนี้ได้ทั่วทุกภาคของประเทศ

          นกกรงหัวจุกเป็นที่นิยมของคนภาคใต้มายาวนาน โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย นั่นคือการแข่งขันประชันเสียงเพลงที่มีลีลาการร้องของสำนวนเสียง ในนกแต่ละตัวว่าใครจะเหนือกว่ากัน แต่ในสมัยก่อนของภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระบี่ นครศรีธรรมราช นิยมนำนกกรงหัวจุกมาชนกันหรือตีกันเหมือนกับการชนไก่ คือเอานกมาเทียบขนาดให้ใกล้เคียงกันแล้วจับใส่กรงกลางที่มีขนาดใหญ่แล้วปล่อยให้นกทั้งสองตัวไล่จิกตีกันภายในกรงจนกว่าจะรู้แพ้รู้ชนะ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่านกปรอดหัวจุก มีนิสัยดุร้ายและชอบไล่จิกและตีกัน ตามธรรมชาติอยู่แล้ว

         การแข่งขันนกกรงหัวจุกได้มาเปลี่ยนแปลงไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.2515 เพราะว่าชาวจังหวัดสงขลา มีแนวความคิดที่จะเปลี่ยนจากการตีกันมาเป็นแบบแข่งขันประชันเสียง โดยเอาแบบมาจากการแข่งขันของนกเขาชวา คือนำนกป่าที่ต่อมาได้นำมาเลี้ยงและฝึกให้เกิดความเชื่องกับคนเลี้ยงหรือเชื่องกับผู้ที่เป็นเจ้าของ พร้อมกับฝึกให้นกมีความสามารถในการร้องในลีลาต่างๆ ตามแต่ที่นกในแต่ละตัวจะทำได้ และผู้เล่นนกกรงหัวจุกก็เริ่มเปลี่ยนการละเล่นที่นำนกมาตีกัน มาเป็นอย่างเดียวกันกบนกเขาชวา คือการเล่นฟังเสียงอันไพเราะของนก จากนั้นการแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็เริ่มมีผู้นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2519 ที่สนามบริเวณหลังสถานีรถไฟเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งในการจัดครั้งนั้นถือว่าเป็นรายการใหญ่ที่สุดในยุคนั้น และได้ยกเลิกการแข่งขันนกกรงหัวจุกในแบบตีกัน ต่อมาเมื่อประมาณ พ.ศ.2520 ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดให้มีการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุก โดยจัดตั้งขึ้นเป็นชมรม ซึ่งทำให้ทุกวันนี้มีชมรมต่างๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย

           กรุงเทพมหานคร ได้มีการเล่นนกกรงหัวจุก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2524 โดยมีกลุ่มคนทางภาคใต้นำเอากีฬาชนิดนี้เข้ามาเผยแพร่ให้เป็นทีรู้จักและได้จัดให้มีการแข่งขัน ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ตลอดสวนจตุจักร และนับแต่นั้นมากระแสความนิยมแข่งขันประชันเสียงของนกกรงหัวจุกก็ได้รับความนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน

สายพันธุ์ปรอด

            นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกพิชหลิว ชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Pycnomotus Jocosus เป็นนกที่มีการคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 17 ให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้

           วงศ์สกุล (GENUS) ของนกปรอดมีมากมายหลายชนิด วงศ์นกปรอด (Family Pycnonotidae) เป็นนกที่มีชนิดมากที่สุด ซึ่งในแต่ละชนิดก็มีเป็นจำนวนมาก และที่ถูกค้นพบมากที่สุดคือประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนในประเทศไทยมีรายงานการค้นพบนกปรอดทั้งหมด ประมาณ 36 ชนิด โดยที่ปรอดทั่วโลกมีประมาณ 109 ชนิด
ลักษณะทั่วไปของนกปรอดหัวโขนเคราแดง

              แก้มและคอจนถึงหน้าอกจะมีสีขาวและมีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอกเหมือนเป็นเส้นแบ่งขนสีขาวกับสีดำที่มีอยู่ทั่วทั้งตัว ขนส่วนหัวจะร่วมกันเป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน ใต้ท้องมีขนสีขาว

             นกปรอดหัวโขนเคราแดง หรือนกกรงหัวจุกนั้นทางภาคใต้นิยมเลี้ยงกันมายาวนานแล้ว และสืบทอดกันมาชั่วลูกหลานจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง จนเรียกได้ว่าการเลี้ยงนกกรงหัวจุกเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านหรือเป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่งของคนภาคใต้ไปแล้ว และไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ ว่าคนทางภาคใต้เริ่มเลี้ยงมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีหนังสือนกกรงหัวจุกเล่มหนึ่ง โดยมีคุณศักดา ท้าวสูงเนิน เป็นบรรณาธิการ ได้รวบรวมและเขียนเอาไว้ว่า

            การเริ่มเลี้ยงนกปรอด ประเทศสิงคโปร์ น่าจะเป็นชาติแรกที่นิยมเลี้ยงนกปรอดก่อนประเทศอื่นๆ และได้ให้ความสำคัญกับนกชนิดนี้มาถึงกับเอารูปนกปรอดหัวโขนเคราแดงมาเป็นสัญลักษณ์ในการพิมพ์ธนบัตรใช้จ่ายภายในประเทศ ดังนั้น จึงขอสันนิษฐานว่าน่าจะเลี้ยงก่อนชาติอื่นๆ

            ส่วนในประเทศไทยเริ่มมีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกกันมานานแล้วประมาณว่าเกินกว่า 40 ปี มาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนาการเลี้ยงและการแข่งขันประชันเสียงออกเป็นชนิดต่างๆ เช่นมีทั้งการแข่งขันประชันเสียงในประเภทนับดอก คือให้คะแนนตามที่นกร้องออกมาเป็นคำละคะแนน ประเภทสากล ประเภทเสียงทอง และในปัจจุบันก็ไม่ปรากฏว่ามีการแข่งขันประเภทตีกัน

            การแข่งขันนกกรงหัวจุกได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีผู้คนให้ความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีการจัดงานแข่งขันประชันเสียงกันทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ในแต่ละสัปดาห์จะมีรายการแข่งขันทั้งประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 5 สนาม มีชมรมฯต่างๆ ที่เกี่ยวกับนกกรงหัวจุกทั่วประเทศนับเป็นร้อยๆ ชมรมฯ และสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การได้รับการโปรดเกล้าพระราชทานถ้วยเป็นรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการแข่งขัน มีตั้งแต่ถ้วยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้วยของพระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งสร้างความปราบปลื้มและเป็นเกียรติยศแก่วงศ์ตระกูลของผู้ที่ได้ครอบครองถ้วยพระราชทาน

           วงการนกกรงหัวจุกจัดได้ว่าเป็นวงการที่ได้รับความนิยมจากคนไทยทั้งประเทศเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมแพร่ขยายมากขึ้น มีการจัดรายการแข่งขันติดกันและต่อเนื่องตลอดทั้งปี มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้การสนับสนุนหลายท่าน ซึ่งส่งผลให้วงการกีฬานกกรงหัวจุกเป็นกีฬาที่สร้างความสนุกสนานและเป็นการสร้างความสามัคคีให้กับคนในชาติได้เป็นอย่างดี